เมนู

อนึ่ง ช้างนั่นชื่อว่ามีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะมีขันธ์ตั้งดีแล้ว ฉันใด
ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราพึงชื่อว่ามีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ใหญ่
ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ ฉันนั้น. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่า ปทุมี เพราะมีร่างกาย
เช่นกับดอกปทุม หรือเพราะเกิดแล้วในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อกาลไหนหนอ
แม้เราก็พึงชื่อว่าปทุม เพราะความเป็นผู้มีกายตรงเหมือนดอกปทุม หรือเพราะ
เกิดแล้วในดอกปทุม คือ อริยชาติ ฉันนั้น อนึ่ง ช้างนั้นโอฬาร ด้วยเรี่ยวแรง
กำลังและเชาว์เป็นต้น ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราก็พึงโอฬารด้วยคุณธรรม
มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญาเป็น
เครื่องแทงตลอดเป็นต้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อคิดอย่างนี้ จึงปรารภ
วิปัสสนา ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล.
นาคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 20


คาถาว่า อฏฺฐาน ตํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชบุตรของพระเจ้าพาราณสี ยังทรงพระเยาว์ มี
พระประสงค์จะทรงผนวช จึงทรงปรึกษาพระมารดาและพระบิดา พระมารดา
และพระบิดาทรงห้ามพระองค์. พระราชบุตรนั้นแม้ถูกห้ามอยู่ ก็ทรงยืนยันว่า
หม่อมฉันจักบวช แต่นั้นพระมารดาและพระบิดาตรัสเรื่องทั้งหมด เหมือนเรื่อง
เศรษฐีบุตรที่กล่าวแล้วในกาลก่อน ทรงอนุญาตแล้ว แต่ทรงให้ปฏิญญาว่า
ก็ครั้นบวชแล้ว พึงอยู่ในอุทยานเท่านั้น พระองค์ทรงกระทำตามปฏิญญา
พระมารดาของพระองค์ มีหญิงนักฟ้อนรำ 20,000 นางแวดล้อมแล้ว เสด็จไป
สู่พระราชอุทยาน ทรงให้พระราชบุตรดื่มยาคู ทรงให้เคี้ยวของขบเคี้ยวเป็นต้น